วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

โค้ดคิวและคำย่อที่ใช้บ่อย

นักวิทยุสมัครเล่น : โค้ดคิวและคำย่อที่ใช้บ่อย

   

เมื่อก่อน เรายังไม่สามารถติดต่อทาววิทยุด้วยเสียงหรือภาพอย่างปัจจุบัน การติดต้องใช้ระบบวิทยุโทรเลข คือ ส่งสัญญาณเป็นจังหวะสั้นกับยาว ใช้แทนตัวอักษร ผู้ที่คิดค้นคือ ซามูเอลมอร์ส จึงเรียกว่า รหัสมอร์ส การส่งระบบนี้เรียกว่า Continuous Wave หรือ ​CW การส่งข้อความยาว ๆ ไม่สะดวก จึงมีการคิดประมวลคำย่อ และโค้ดแทนข้อความที่ใช้บ่อยให้สั้นลง โค้ดที่นิยมใช้ในวิทยุสมัครเล่น เรือ และเครื่องบิน คือ คิวโค้ด นี่เอง
        ต่อมา แม้สามารถสื่อสารด้วยการพูดผ่านคลื่นวิทยุได้แล้ว แต่การติดต่อด้วยคลื่อนวิทยุในระยะทางไกลๆ บางครั้งสัญญาณจะอ่อนจาง ทำให้ข้อความที่ติดต่อสื่อสารกันไม่ชัดเจน หรืออาจตกหล่น จึงยังนิยมใช้ประมวลคำย่อ และโค้ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิทยุการบิน วิทยุเรือ และวิทยุสมัครเล่น
        คิวโค้ด สามารถใช้ได้ทั้งในการถามและตอบ เช่น 
        เมื่อใช้ภาษาธรรมดา
        YL      : ท่านอยู่ที่ไหนคะ?
        OM    : อยู่สัตหีบครับ รับข้อความได้ครบไหมครับ?
        YL      : รับได้ค่ะ ยังมีข้อความเพิ่มเติมอะไรไหมค่ะ?
        OM    : หมดข้อความแล้วครับ
        YL      : ด้วยความปรารถนาดี สวัสดีค่ะ
        OM    : ด้วยความปราถนาดีเช่นกัน สวัสดีครับ
       เมื่อใช้คิวโค้ด
        YL      : QTH คะ?
        OM    : แสมสาร สัตหีบ ครับ  QSL ครับ?
        YL      : QSL?  QRU ค่ะ?
        OM    : QRU ครับ
        YL      : 73 ค่ะ
        OM    : 73 ครับ



Q code ที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น
Q code
ความหมาย (สำหรับคำถาม)
ความมาย (สำหรับคำตอบ)
QRA
สถานีของท่านชื่ออะไร?
สถานีของข้าพเจ้าชื่อ...
QRB
ท่านอยู่ห่างจากสถานีของข้าพเจ้าเท่าใด?
ข้าพเจ้าอยู่ห่างจากสถานีของท่านประมาณ...
QRD
ท่านจะไปที่ไหน? และมาจากที่ไหน?
ข้าพเจ้าจะไปที่… ข้าพเจ้ามาจาก...
QRE
ท่านจะมาถึงเวลาใด?
ข้าพเจ้าจะไปถึงเวลา...
QRG
ท่านจะบอกความถี่แท้จริงของข้าพเจ้าได้ไหม?
ความถี่แท้จริงของท่านคือ...
QRH
ความถี่ของข้าพเจ้าเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
ความถี่ของท่านเปลี่ยน...
QRK
ท่านรับฟังข้อความของข้าพเจ้าได้ชัดเจนเพียงใด?
ข้าพเจ้ารับฟังข้อความของท่านได้...


QRK1 : รับฟังข้อความไม่ได้เลย


QRK2 : รับฟังข้อความไม่ค่อยดี (แทบไม่ได้หรือรับได้บางคำ)


QRK3 : รับข้อความได้พอใช้


QRK4 : รับข้อความได้ดี


QRK5 : รับข้อความได้ดีเยี่ยม
QRL
ท่านกำลังมีธุระหรือ?
ข้าพเจ้ากำลังมีธุระ… (หรือมีธุระกับ…)
QRM
ท่านกำลังถูกรบกวนหรือ? (จากบุคคล)
ข้าพเจ้ากำลังถูกรบกวน…(1-5)
QRN
ท่านกำลังถูกรบกวนโดยประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ?
ข้าพเจ้าถูกรบกวนโดยประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ (1-5)
QRO
ข้าพเจ้าจะเพิ่มกำลังส่งได้หรือไม่?
เพิ่มกำลังส่งขี้นอีก
QRP
ข้าพเจ้าจะลดกำลังส่งได้หรือไม่?
ลดกำลังส่งลง
QRQ
ข้าพเจ้าจะส่งเร็วขึ้นได้หรือไม่?
ส่งเร็วขึ้น (...คำต่อนาที)
QRS
ข้าพเจ้าจะส่งให้ช้าลงได้หรือไม่?
ส่งช้าลง (...คำต่อนาที)
QRP
ข้าพเจ้าจะหยุดส่งได้หรือไม่?
หยุดการส่ง
QRU
ท่านมีข้อความอะไรถึงข้าพเจ้าอีกหรือไม่?
หมดข้อความ
QRV
ท่านพร้อมหรือยัง?
ข้าพเจ้าพร้อมแล้ว
QRW
จะให้ข้าพเจ้าแจ้งเขาไหมว่าท่านกำลังเรียก  อยู่ที่ความถึ่?
ขอให้ท่านแจ้งเขาให้ทราบ
QRX
เมื่อใดท่านจะเรียกข้าพเจ้าอีก?
ข้าพเจ้าจะเรียกท่านอีก เวลา… น.
QRZ
ใครกำลังเรียกข้าพเจ้า?
(ชื่อสถานี) กำลังเรียกท่าน
QSA
ความแรงของสัญญาณของข้าพเจ้าเป็นเช่นไร?
ความแรงสัญญาณของท่าน


QSA1 : อ่อนมากจนแทบรับสัญญาณไม่ได้เลย


QSA2 : อยู่ในระดับอ่อน


QSA3 : อยู่ในระดับแรงพอใช้ได้


QSA4 : อยู่ในระดับแรงดี


QSA5 : อยู่ในระดับแรงดีมาก
QSB
สัญญาณของข้าพเจ้าจางหายหรือไม่?
สัญญาณของท่านจางหาย
QSL
ท่านรับข้อความได้หรือไม่?
ข้าพเจ้ารับข้อความได้แล้ว
QSM
จะให้ข้าพเจ้าทวนข้อความสุดท้ายซ้ำอีกหรือไม่?
โปรดทวนข้อความสุดท้ายซ้ำอีก
QSN
ท่านได้ยินข้าพเจ้าที่ความถี่...หรือไม่?
ข้าพเจ้าได้ยินท่านที่ความถี่...
QSO
ท่านสามารถติดต่อกับ(ชื่อสถานี) ได้โดยตรงหรือไม่?
ข้าพเจ้าสามารถติดต่อกับ(ชื่อสถานี) ได้โดยตรง
QSP
ท่านจะถ่ายทอดข้อความถึง...ได้หรือไม่?
ข้าพเจ้าจะถ่ายทอดข้อความไปถึง...ได้
QSX
ท่านจะรับฟัง(ชื่อสถานี) ที่ความถึ่...ได้หรือไม่?
ข้าพเจ้ากำลังรับฟัง(ชื่อสถานี) ที่ความถี่...
QSY
ข้าพเจ้าจะเปลี่ยนไปส่งความถี่อื่นได้หรือไม่?
ให้เปลี่ยนไปส่งด้วยความถี่อื่นที่...
QTH
ตำแหน่งสถานีของท่านอยู่ที่ใด?
ตำแหน่งสถานีของข้าพเจ้าอยู่ที่...
QTR
ขณะนี้เวลาเท่าใด?
ขณะนี้เวลา...

เพิ่มเติมครับ : QTR คือ ​WHAT IS THE CORRECT TIME? 
                    :  เขาถามว่าเวลานี้กี่นาฬิกาแล้ว เราต้องตอบว่า THE TIMIE IS... (เวลาขณะถาม)
Q-CODE ตัวนี้ได้ใช้อย่างผิด ๆ เช่น QTR นี้ว่างหรือไม่,  QTR นี้ไม่อยู่บ้าน ฯลฯ เป็นต้น




คำเฉพาะ และคำย่อต่าง ๆ ที่ควรรู้สำหรับ นักวิทยุสมัครเล่น
BREAK
ขอขัดจังหวะ การติดต่อระหว่างคู่สถานีที่กำลังติดต่อกันอยู่ (มาจากคำว่า Break in)
CLEAR
เลิกการใช้ความถี่ที่กำลังใช้อยู่ (เมื่อสิ้นสุดการติดต่อ เพื่อเปิดโอกาสให้สถานีอื่นมาใช้ได้)
CONTACT
ขอเข้าร่วมใช้ความถี่ ที่คู่สนทนากำลังติดต่อกันอยู่
CQ
เรียกแบบไม่เจาะจงสถานี (General Call) เพื่อต้องการจะติดต่อด้วย มีความหมายว่า “ผู้ใดได้ยินแล้วตอบด้วย”
DX
การติดต่อระยะไกล ๆ ด้วยวิทยุ, ระยะไกล, สถานีที่อยู่ห่างไกล (ต่างประเทศ) ย่อมาจากคำว่า Distance
HAM
เป็นคำแสลง หมายความว่า นักวิทยุสมัครเล่น
LAND LINE
(LIMA LIMA)
โทรศัพท์
MAYDAY
สัญญาณแจ้งเหตุอันตราย หรือขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน
NEGATIVE
ไม่ใช้, ขอปฏิเสธ
OVER
เปลี่ยน (เชิญคู่สถานีเป็นฝ่ายส่ง)
ROGER
รับข้อความที่ส่งมาครบถ้วน และเข้าใจแล้ว
STAND BY
อยู่ในสภาวะเตรียมพร้อมที่จะรับการติดต่อ
XYL
ภรรยา
OM
สุภาพบุรุษ
YL
หญิงสาว หรือนักวิทยุสมัครเล่น ที่เป็นเพศหญิง
73
ด้วยความปรารถนาดี ใช้กล่าวอำลาเมื่อจะเลิกติดต่อทางวิทยุ
88
มาจากคำว่า LOVE and KISS ใช้กล่าวอำลาสำหรับนักวิทยุที่มีเพศต่างกัน และคุ้นเคยกันเท่านั้น
GO AHEAD
เริ่มส่งได้
QSL CARD
บัตรรายงานผลการติดต่อสื่อสาร


ข้อสังเกตุ : OM, YL มาจากคำว่า OLD MAN,  YOUNG LADY เป็นคำยกย่องหมายถึง ท่านสุภาพบุรุษ ถ้าแปลตามหนังสือ
กำลังภายใน ว่าท่านผู้อาวุโส อย่าไปเข้าใจผิดแปลว่า คุณพ่อนะครับ


ข้อมูล : www.e20wtd.com

















0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น