วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วิทยุสมัครเล่น

นักวิทยุสมัครเล่น :  เมื่อผมอยากเป็น นักวิทยุสมัครเล่น


        ความอยากเป็นนักวิทยุสมัครเล่นในตอนนั้น (ผ่านมาหลายปีแล้วละ)  จำได้ว่าเคยเห็นพื่อนคนหนึ่ง เค้าใช้วิทยุสื่อสารในการพูดคุยกับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยการใช้โค๊ตบางอย่างในการพูดคุย ซึ่งต่อมาก็ทราบว่า เค้าเป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น มีเพื่อนในกลุ่มหลายคน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน นัดพบปะสังสรรค์ร่วมกัน เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สิ่งเหล่านั้นเป็นเหตุผลแรกที่ทำให้ผมอยากเป็นนักวิทยุสมัครเล่นกับเค้าบ้าง  จึงสอบถามเพื่อนผมว่า หากผมอยากเป็น นักวิทยุสมัครเล่น บ้างต้องทำอย่างไร คำตอบที่ได้คือ อันดับแรกจะต้องไปสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ซึ่งกำกับดูแลโดย กรมไปรษณีย์โทรเลข (สมัยนั้น ตอนนี้ คือ กสทช.) เมื่อสอบผ่านแล้วก็จะได้ประกาศนียบัตรฯ จากนั้นเราจึงดำเนินการขอ สัญญาณเรียกขาน หรือ คอลซายน์ (Call Sing)เพียงเท่านี้เราก็สามารถเป็น นักวิทยุสมัครเล่น ได้แล้ว  เมื่อกรมไปรษณีย์โทรเลข (สมัยนั้น)  เปิดสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น   ผมก็ไปสมัครสอบ และผมก็สอบผ่าน ได้รับประกาศนียบัตรฯ และก็ดำเนินการขอ สัญญาณเรียกขานหรือ คอลซายน์ (Call Sign) ซึ่ง สัญญาณเรียกขาน หรือ คอลซายน์ (Call Sing)     ของผมก็คือ : E21DGZ  นี่เป็นคอลซายน์แรกในชีวิต ออกโดย กรมไปรษณีย์โทรเลข (สมัยนั้น) ออกให้กับผู้ที่สอบผ่าน ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น (ขั้นต้น ซึ่งต่อไปจะมีขั้นสูงกว่าตามมาครับ) และแล้วผมก็เป็น นักวิทยุสมัครเล่น สมใจครับ....
สำหรับวิทยุสื่อสารเครื่องแรกที่ผมใช้คือ เจ้า YAESU FT-416 
YAESU FT-416

ได้อะไรจากการเป็น : นักวิทยุสมัครเล่น

         เมื่อผมต้องเข้ารับการอบรมในหลักสูตรหนึ่ง ซึ่งในหลักสูตรดังกล่าวจะต้องมีการบรรยายหน้าห้องฝึกอบรม ใช้เวลาในการบรรยายประมาณ หัวข้อละ  15 นาที หัวข้อการบรรยายเป็นเรื่องอะไรก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม การบรรยายใช้วิธีจับสลาก หัวข้อการบรรยายผมใช้เรื่อง "นักวิทยุสมัครเล่น" บรรยายด้วย PowerPoint พร้อม วิทยุสื่อสาร YAESU FT-416 หัวข้อการบรรยายก็เป็นเรื่องโดยท่ัวๆ ไปที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น พร้อมการใช้วิทยุสื่อสารในการติดกับสถานีอื่น ซึ่งก็เป็นความโชคดีที่สามารถติดต่อกับสถานีใกล้เคียงได้ เมื่อจบการบรรยาย ได้รับการตอบรับจากผู้เข้ารับการอบรมเป็นอย่างดี และผู้เข้ารับการอบรมบางคนให้ความสนใจ อยากเป็นนักวิทยุสมัครเล่นบ้าง มีอาจารย์ท่านหนึ่ง ได้ชักชวนให้ผมไปเป็นอาจารย์พิเศษ ในโรงเรียนที่ท่านสอน โดยเห็นว่า ผมบรรยายได้เข้าใจง่ายและใช้เครื่องช่วยบรรยายได้เป็นอย่างดี....นี่แหละครับส่วนหนึ่งที่ผมได้จากการเป็น "นักวิทยุสมัครเล่น"

ขั้นตอนการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น (นักวิทยุสมัครเล่น) 

 1.สมัครเข้ารับการอบรม และสอบ เพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นข้นต้น
   - เลือกเข้ารับการอบรม และสอบ สนามสอบที่ใดก็ได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย แล้วแต่ความสะดวกของผู้เข้ารับการอบรม และสอบฯ 
   - เกณฑ์การรับรองผล คะแนนเต็ม 100 คะแนน
     ก. ส่วนแรก คะแนนจากการเข้ารับฟังการบรรยายครบทุกหัวข้อวิชา 20 คะแนน
     ข. ส่วนที่สอง คะแนนการสอบภาคทฤษฎี  80 คะแนน
   ผู้เข้าสอบต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 60 คะแนน จึงจะถือว่าสอบได้ และมีสิทธิได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น รอประกาศผลอบรมและสอบประมาณ 1 เดือน .      เมื่อผลออกแล้วรอประกาศนียบัตรฯ  อีกประมาณ 1 เดือน

2. ทำบัตรประจำตัวพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น (นามเรียกขาน)
    2.1 กรณีไปดำเนินยื่นเอกสารที่ สกทช. ทั้งในส่วนกลาง และภูมิภาค
          2.1.1 กรอกแบบฟอร์มในใบคำขอ (แบบ ฉก 2)
          2.1.2 สำเนาใบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น พร้อมลงลายมือชื่อเซ็นต์รับรองสำเนา
          2.1.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมลงลายมือชื่อเซ็นต์รับรองสำเนา
          2.1.4 สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมลงลายมือชื่อเซ็นต์รับรองสำเนา
          2.1.5 รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว (ไม่สวมหมวกและใส่แว่นตาดำ)
          2.1.6 กรณีไม่มีรูปถ่าย ทางพนักงานสำนักงาน กสทช. มีบริการถ่ายรูปให้ฟรี (ส่วนภูมิภาค)
          2.1.7 เงินค่าธรรมเนียม จำนวน  214 บาท (สองร้อยสิบสี่บาทถ้วน) 
    2.2 กรณีส่งเอกสารทางไปรษณีย์
         จัดส่งเอกสารทั้งหมดตามข้อ 2.1 และค่าธรรมเนียม 214 บาท (สองร้อยสิบสี่บาทถ้วน) โดยใช้ธนาณัติสั่งจ่าย ใส่ซอง ส่งไปที่สำนักงาน กทช. ได้ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ใกล้บ้านท่าน
          รอการตอบกลับทางไปรษณีย์ประมาณ 1 สัปดาห์ จะได้รับ
           - บัตรประจำตัวพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
           - ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม
 3. หาซื้อเครื่องวิทยุคมนาคม (วิทยุสมัครเล่น)
     3.1 วิทยุสื่อสารชนิดมือถือ (Handy / Handhelds)


     3.2 วิทยุชนิดตั้งประจำที่ (Base / Station) 
     คือแบบที่ใช้ตั้งสถานี เราอาจไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก ส่วนมากมักใช้ตามสถานที่ราชการ แต่เรามักเห็นกันคือ ใช้วิทยุติดรถยนต์มาดัดแปลงใช้เป็นวิทยุติดตั้งประจำที่ ซึ่งเป็นการใช้งานที่ผิดประเภท แต่เนื่องจากวิทยุสื่อสารชนิดติดตั้งประจำที่นั้น มักมีราคาแพง จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก นอกจากสถานที่นั้น ๆ มีงบประมาณการจัดซื้อสูง

 



   3.3 วิทยุสื่อสารชนิดติดตั้งในรถยนต์ (Mobile) 

คือวิทยุที่เราเห็นใช้กันมาก ทั้งนำไปติดในรถยนต์ และใช้แทนวิทยุสื่อสารประเภทติดตั้งประจำที่ มักจะออกแบบให้มีขนาดกระทัดรัด เหมือนวิทยุ FM ที่ติดในรถยนต์ และใช้ไฟ 12 โวลต์ จึงมีผู้นำไปดัดแปลงต่อกับแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง 12 โวลต์ และนำไปใช้งานแทนวิทยุสื่อสารประเภทติดตั้งประจำที่ ซึ่งมีราคาสูงกว่ามาก



แหล่งที่มา  : www.hs6an.com



สัญญาณเรียกขาน หรือ คอลซายน์ (Call Sign)
           สัญญาณเรียกขาน หรือคอลซายน์ (Call Sign) เป็นสิ่งที่นักวิทยุสมัครเล่นทุกคนต้องมีซึ่งสัญญาณเรียกขานที่ว่านี้ มีไว้เพื่อใช้เป็นชื่อเรียก ในขณะที่เราใช้วิทยุสื่อสาร เพราะขณะที่เราใช้งานบนความถี่ เราจะไม่เห็นหน้ากัน เวลาเรียกขานจึงต้องมี สัญญาณเรียกขาน  ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเป็นสัญญาณเรียกขานมาจากสถานีใด เป็นสถานีในกิจการประเภทใด หรืออยู่ในพื้นที่ใดของประเทศ เช่น HSA - HAZ และ E2A - E2Z   คืออักษรขึ้นต้นสัญญาณเรียกขานระหว่างประเทศ สำหรับประเทศไทย เป็นต้น         
ทั้งนี้สัญญานเรียกขานเปรียบเสมือนกับคนเราที่ต้องมีชื่อเรียกนั่นเอง
           สัญญาณเรียกขาน หรือคอลซายน์  (Call Sign) ที่นักวิทยุสมัครเล่นแต่ละคนมีติดตัวนี้นเป็นสิ่งสากลครบ    สามารถใช้ติดต่อกับ นักวิทยุสมัครเล่น ได้ท่ัวโลกตราบใดที่สัญญาณเราไปถึง  ซึ่งประกอบไปด้วยตัวเลข และตัวอักษรผสมกัน จัดวางในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเทศกำหนด และอยู่ภายใต้ข้อบังคับของ  สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU  (International Telecommunication Union) ซี่งเป็นหน่วยงานระดับนานาชาติเฉพาะทาง (specialized agencies)   ที่อยู่ภายใต้สหประชาชาติโดยมีศักดิ์ฐานะเท่ากับองค์กร อื่น ๆ  ที่เราอาจคุ้นชื่อกันดี เช่น UNESCO  IMF WHO หรือ FAO      สำหรับ ITU ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยโทรเลข (ชื่อเดิมคือ International  Telegraph Union) ตั้งแต่ปี 1865 หรือนับมาถึงวันนี้ก็เกือบ 150 ปีแล้วครับ ตั้งแต่ก่อนมีสหประชาชาติโดยรูปแบบองค์กรก็วิวัฒนาการมาตามกาลเวลาโดยเปลี่ยน ชื่อเป็น International Telecommunication Union  ในปี 1932 เพื่อขยายภารกิจขององค์กรให้ครอบคลุมโทรศัพท์ด้วย    และภายหลังก็เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาติในปี 1947   ITU มีสมาชิกเป็น "ประเทศ" จำนวน 193 ประเทศ      เท่ากับประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ และเปิดรับสมาชิกแบบองค์กรภาคเอกชน สมาคม และหน่วยงานการศึกษาด้วย   สำนักงานใหญ่ของ ITU อยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีสำนังานระดับภูมิภาคอีก 12 แห่งทัวโลก     ปัจจุบันขอบเขตงานของ ITU  ขยายจากโทรเลขและโทรศัพท์มาเป็นการสื่อสารผ่านดาวเทียม มือถือ อินเทอร์เน็ต การสื่อสารในช่วงภัยพิบัติ และการใช้งานไอซีที
        สำหรับประเทศไทยนั้น  ก็จะขึ้นต้นด้วย HSxxxx  และ E2xxxx    ตามด้วยตัวเลขเขตพื้นที่ของนักวิทยุสมัครเล่นนั้น ๆ    แล้วตามด้วยตัวอักษรอีกชุดหนึ่ง และถ้าเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นชาวต่างชาติได้ยินสัญญาณเรียกขานที่ขึ้นต้นด้วย HS (อ่านว่า โฮ-เทล เซีย-ร่า) และ E2 (อ่านว่า เอ็ค-โค่ ทู) ก็จะทราบทันทีว่านี่คือ สัญญาณเรียกขานจากนักวิทยุสมัครเล่นชาวไทย ซึ่งทั้ง HS และ E2 ที่เรากำลังพูดถึงนี้ เราเรียกว่า Prefix และตัวอักษรที่อยู่ส่วนท้ายนั้นเราเรียกว่า Suffix ครับ

ตัวอย่างสัญญาณเรียกขาน SUFFIX 3 หลัก

ตัวอย่างสัญญาณเรียกขาน SUFFIX 2 หลัก

แหล่งที่มา : www.hamme-d.com
                    
          สัญญาณเรียกขาน หรือ คอลซายน์ (Call Sign) สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ใช้รูปแบบที่ระบุ ในข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ และกำหนดรายละเอียดเพิ่มเตม ดังนี้ :-
HS n X 
HS n XX
HS n XXX 
          จากรหัสข้างต้น มีความหมายตามอักษร ดังนี้
           HS หรือเรียกว่า Prefix  : ระบุว่าเป็นประเทศไทย ตามข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ เป็นรหัสเก่า ที่ยังคงเหลือใช้อยู่
             n หรือ Number  หมายถึง ตัวเลข 0 ถึง 9 ใช้ระบุว่าอยู่ในเขตพื้นที่ใดของประเทศไทย    
             Suffix  เป็นพยัญชนะ 1 ตัว หรือ 2 ตัว หรือ 3 ตัวมีรายละเอียด ดังนี้
                          X      -  สำหรับพระราชวงศ์
                        XX     -  ใช้เรียกตามลำดับจาก AA - ZZ ยกเว้น  AA - AZ    ซึ่งสำรองไว้สำหรับสถานีกรณีพิเศษ เช่น สถานีทวนสัญญาณ (beacon) สถานีของชมรมหรือสมาคม (Club Station) และสถานีชั่วคราวเฉพาะกิจ ยกเว้น  CQ  SOS และ HS
                        XXX   -  ใช้เรียกตามลำดับจาก AAA - ZZZ  ยกเว้น DDD QAA QZZ SOS และ TTT
  
E2 n X 
E2 n XX
E2 n XXX 
          จากรหัสข้างต้น มีความหมายตามอักษร ดังนี้
           E2 หรือเรียกว่า Prefix  : ระบุว่าเป็นประเทศไทย ตามข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ เป็นรหัสเก่า ที่ยังคงเหลือใช้อยู่
             n หรือ Number  หมายถึง ตัวเลข 0 ถึง 9 ใช้ระบุว่าอยู่ในเขตพื้นที่ใดของประเทศไทย    
             Suffix  เป็นพยัญชนะ 1 ตัว หรือ 2 ตัว หรือ 3 ตัวมีรายละเอียด ดังนี้
                          X      -  สำหรับพระราชวงศ์
                        XX     -  ใช้เรียกตามลำดับจาก AA - ZZ ยกเว้น  AA - AZ    ซึ่งสำรองไว้สำหรับสถานีกรณีพิเศษ เช่น สถานีทวนสัญญาณ (beacon) สถานีของชมรมหรือสมาคม (Club Station) และสถานีชั่วคราวเฉพาะกิจ ยกเว้น  CQ  SOS และ HS
                        XXX   -  ใช้เรียกตามลำดับจาก AAA - ZZZ  ยกเว้น DDD QAA QZZ SOS และ TTT
  


ก้าวสู่โลกวิทยุสื่อสารอย่างมั่นใจของ นักวิทยุสมัครเล่น !

          การขึ้นความถี่ครั้งแรกในชีวิตของนักวิทยุมือใหม่เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น     และเป็นความทรงจำ ซึ่งตอนนั้นอาจไม่สนุกเลย ทั้งเขิน ทั้งประหม่า ทั้งกลัว   เขาจะพูดคุยกับเราหรือเปล่า.. เราจะพูดอะไรผิดหรือถูกอย่างไรน้า.... เราไม่รู้จักใครเลย จะลองเรียกขานเขายังไงดี เรียกแล้วเขาจะตอบเราไหม..ต่าง ๆ นา ๆ
ของความวิตกกังวล...
          แต่ไม่ต้องเป็นห่วงหรอก อาการนี้มันเป็นมรดกตกทอดมาจากนักวิทยุรุ่นก่อน ๆ ทุกคน(รุ่นเก๋า)  ก็เคยผิด เคยเก้อ เคยหน้าแตกมาแล้วทั้งนั้น      แต่ก็จะค่อย ๆ เรียนรู้ ในที่สุดก็จะกลายเป็นนักวิทยุรุ่นเก๋า และปล่อยความประหม่าขัดเขินไว้เป็นมรดตกทอดให้คนรุ่นใหม่ ๆ ที่กำลังก้าวเข้ามาต่อไป  เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลความ "ใหม่" มันอยู่กับใครไม่นานหรอก แป๊ปเดียวมันก็ไปแล้ว...
          การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือเรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองและอาจไม่ทันการณ์ ดังนั้น ประสบการณ์บางส่วนของ "รุ่นเก๋า" ที่จะได้อ่านต่อจากนี้ น่าจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ ในการขึ้นความถี่ของคุณได้พอสมควรครับ....

จรรยาบรรณ : นักวิทยุสมัครเล่น

          1. มีความเกรงใจ และเห็นใจผู้ใช้ความถี่ร่วมกับเรา หรือผู้ที่คอยใช้ความถี่ต่อจากเรา   ไม่ทำอะไรที่เป็นการลดทอนความสุขของผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความรำคาญใจแก่ผู้อื่น
                หลักการข้อนี้ ช่วยป้องกันปัญหาความขัดแย้งบนความถี่
         2. สนับสนุนส่งเสริมเพื่อนนักวิทยุด้วยกันรวมทั้งส่งเสริมองค์กรนักวิทยุในท้องถิ่น และองค์กรซึ่ง เป็นตัวแทนของนักวิทยุประเทศ และของโลก
                 หลักการข้อนี้ ช่วยให้เกิดเสาหลักในการพัฒนาการสื่อสารทางวิทยุของประเทศชาติ
           3. พัฒนาตัวเองให้มีความรู้ความเข้าใจในวิชาการเกี่ยวกับวิทยุสื่อสารเพียงพอ และเสริมสร้าง
สถานี ให้มีประสิทธิภาพ
             การพัฒนาสถานีวิทยุสื่อสารของตัวเองให้มีประสิทธิภาพนั้น นอกจากไม่ก่อให้เกิดการบกวน หรือ สร้างความเดือดร้อนให้ใครแล้วยังเป็นการพัฒนาตัวเอง     ให้สามารถทำหน้าที่เป็นข่ายสื่อสำรอง ของชาติในยามฉุกเฉิน และการที่แต่ละบุคคลในชาติมีความรู้ความสามารถ ก็ย่อมทำให้เกิด การพัฒนาของประเทศชาติโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ การพัฒนาตัวเองให้มีความรู้ และความเข้าใจที่ ถูกต้องชัดเจน  จะลดการกระจายความรู้ หรือทัศนคติผิด ๆ ไปสู่คนอื่น ๆ ด้วย
         4. อธิบายซ้ำ หรือพูดให้ช้าลงเมื่อเห็นว่าคู่สนทนายังไม่เข้าใจ เต็มใจตอบเมื่อมีผู้ถามหรือขอความรู้ ให้คำแนะนำแก่นักวิทยุใหม่ ๆ ด้วยความเมตตา ตอบปัญหาของผู้ที่สนใจด้วยสปิริต ของนักวิทยุ
                     น้ำใจที่เอื้ออาทรต่อกัน เป็นเสน่ห์ที่สร้างความประทันใจให้เกิดขึ้นกับกิจการวิทยุสมัครเล่น และเป็นเสน่ห์ส่วนตัวของนักวิทยุสมัครเบ่นแต่ละคนด้วย
                5.  ต้องรู้จักจัดเวลาให้สมดุล อย่าให้การเล่นวิทยุมีผลกระทบต่อครอบครัว การงาน การเรียน หรือสังคมรอบตัว
                       ข้อนี้สำคัญมาก เราต้องทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำก่อน ตามด้วยสิ่งที่ควรทำ และสุดท้ายจึงจะทำในสิ่งที่อยากทำ การเล่นวิทยุเป็นเพียงงานอดิเรกอย่างหนึ่ง ถ้าเราไม่สามารถแบ่งเวลาหรือจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตไม่ได้ การเพิ่มงานอดิเรกนี้เข้าไปในชีวิต ก็อาจเป็นโทษมากกว่าประโยชน์
                 6. คงไว้ซึ่งความรู้ความชำนาญ พร้อมที่จะบริการรับใช้ประเทศชาติ หรือต่อชุมชนของตน
                      ความสำคัญของข้อนี้ คือการพัฒนาตนและการฝึกซ้อมด้านการสื่อสารให้ชำนาญ พร้อมเสมอที่จะใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่เพื่อรับใช้ชาติโดยวิธีการต่าง ๆ 
            









         ข้อมูลจาก : คู่มือคนรักวิทยุสื่อสาร โดย ธิดา เด่นพฤกษ์ธรรม HS1ASC

         



















0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น